top of page

EP.6 : All New Common Knee Injuries




#ของดีจากคอร์ส EP.6

✅All New Common Knee Injuries

📢 เมื่อใครๆก็ปวดเข่า เราจึงต้องเชี่ยวชาญ

.

🗣️ #เล่าให้ฟัง จากประสบการณ์ทำงานในคลินิกมาทั้งหมด 3 ที่ ในระยะเวลาเกือบ 6 ปี เวลาเราจะยิงโฆษณาหรือทำ Content ยังไงก็หนีไม่พ้นข้อเข่า, เนื่องจากเข่าเป็นข้อต่อที่ติด Top 5 ข้อต่อที่มีคนเจ็บมากที่สุด จากการเก็บสถิติจากคนไข้ที่เข้าคลินิกแต่ละที่มา

.

🤯 ไม่ใช่เพราะข้อเข่าปวดแล้วรักษาไม่หาย แต่เป็นเพราะข้อเข่าเป็นข้อต่อที่รูปร่างเป็นบานพับ (Hinge Joint) ขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ต้องรับน้ำหนักจากร่างกายส่วนบน และอาจจะต้องขยับตามข้อเท้าที่แบนหรือสูงมากเกินไปอีกด้วย ทำให้ข้อเข่านั้นเจ็บและเสื่อมค่อนข้างง่าย

.

ในคอร์สนี้มีไอเดียดีๆอะไรมาแชร์กันบ้าง เชิญติดตามในรูปต่อไปได้เลยครับ ❤️

.

ส่วนใครที่อยากช่วยสนับสนุนเพจ ลงทะเบียนเรียนคอร์ส All New Common Knee Injuries

ได้ที่ ▶️ https://shorturl.at/jFHMO

.






📕 Ep.6-1

อัตราส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า

(Hamstring to Quadriceps Ratio)

.

🍖 ความสมดุลของกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง (Hamstrings) และต้นขาด้านหน้า (Quadriceps) โดยปกติจะแนะนำให้ความแข็งแรงเป็นอัตราส่วน 2:3 กัน

.

⚠️ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาปวดเข่า หรือเคลื่อนไหวอย่างไม่มีประสิทธิภาพได้

.

ยกตัวอย่างเช่น

1️⃣ Quadriceps แข็งแรงกว่า Hamstings มากๆ

  • สามารถทำให้ลูกสะบ้าถูกกดให้ชิดกับข้อเข่ามากขึ้น เวลาเคลื่อนไหวมีสิทธิขูดกับผิวข้อบาดเจ็บได้

  • เอ็นใต้สะบ้าอาจจะตึงมากเป็นพิเศษ มีการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น

2️⃣ Hamstrings แข็งแรงกว่า Quadriceps มากๆ

  • มีโอกาสในการบาดเจ้บต้นขาด้านหลังมากขึ้น เช่น Hamstrings strain

  • แนวแรงดึงของต้นขาด้านหลังอาจจะทำให้เชิงกรานกดไปทางด้านหลัง (Posterior Tileted) ได้ง่าย

.

#คำแนะนำ ตรวจเช็คความแข็งแรงกล้ามเนื้อประเมินเบื้องต้น ก็จะพอทราบว่ากล้ามเนื้อกลุ่มไหนแข็งแรงมากน้อยกว่ากัน // แต่ถ้าเกิดอยากได้ผลเป็นตัวเลขชี้วันชัดๆ แนะนำให้ใช้เครื่องมือที่สามารถวัดแรงได้แบบตรงๆ เช่น Functional Trainer เป็นต้นครับ

.

ลงทะเบียนเรียนคอร์ส All New Common Knee Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A





📕 Ep.6-2

กลไกการเคลื่อนไหวภายในข้อเข่า

(Screw home mechanism)

.

ℹ️ ใครมีปัญหาเหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด ปัญหาอาจจะเกิดจากส่วนนี้ / ข้อเข่าของเราดูผิวเผินอาจจะทำได้แค่การงอ หรือ เหยียดออก แต่ที่จริงแล้ว มันบิดหมุนได้ด้วย ❗️

.

กลไก Screw Home Mechanism ช่วยให้ระหว่างการเคลื่อนไหวข้อภายในรับกันได้พอดี โดยมีลักษณะดังนี้

🔺Knee Extension : ↪️Femur Internal rotate : ↩️Tibia External rotate

🔻Knee Flexion : ↩️Femur External rotate : ↪️Tibia Internal rotate

.

#ประยุกต์ใช้

ส่วนใหญ่เราจะพบเคสที่เหยียดเข่าได้ไม่สุด ลองพิจารณากล้ามเนื้อรอบๆที่ผลในการบิดเข้าออกของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เช่น

👉Vastus medialis

👉Vastus lateralis

👉Popliteus

อาจจะมีผลทำให้กลไกข้อเข่าตัวนี้ทำงานได้ไม่ดี เมื่อมันตึงเกินไป / อ่อนแรง ถ้าเราตรวจพบและแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้น

.

ถ้าอยากได้ตัวอย่างท่าออกกำลังกาย ทักเข้ามาสอบถามได้นะฮะ ▶️ https://lin.ee/IFfmaP7

.

ลงทะเบียนเรียนคอร์ส All New Common Knee Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A





📕 Ep.6-3

โรคและอาการที่เจอบ่อยในข้อเข่า

(Common Knee Injuries)

.

🤯 อาการปวดเข่าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โครงสร้างที่บาดเจ็บแต่ละที่สามารถส่งผลให้แสดงอาการได้แตกต่างกัน เช่น ปวดตื้อๆ ปวดแหลมๆ หรือ ปวดหน่วงๆในข้อต่อได้

.

ℹ️ปวดแบบนี้เกิดจากอะไร ดูได้ที่

.

ภายในคอร์สนี้เรายกตัวอย่าง 4 อาการยอดฮิตมา #ได้แก่

✅ Chondromalacia : ผิวสะบ้าขูดข้อ

✅ Iliotibial band friction syndrome : เจ็บเอ็นข้างเข่า

✅ Patella tendinitis : เอ็นใต้สะบ้าอักเสบ

✅ Osteoarthritis knee : เข่าเสื่อม

.

❤️แต่ละอาการมีเทคนิคในการรักษาแตกต่างกันยังไง ติดตามได้ในคอร์สนี้เลยครับ

.

ปรึกษาเคสข้อเข่า หรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ ทักเข้ามาคุยดันได้ที่นี้

.

ลงทะเบียนเรียนคอร์ส All New Common Knee Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A


7 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page