top of page

EP.4 : All New Wrist & Hand Injuries





#ของดีจากคอร์ส EP.4

✅All New Wrist & Hand Injuries

👉คอร์สที่ขายยากที่สุดของเพจ 🤔

.

ทุกวันนี้ผมก้ยังไม่เข้าใจว่าทำไม 🤔เรื่องมือและข้อมือเป็นสิ่งสำคัญมากๆของชาว Physio & Trainer เพราะถ้าบาดเจ็บขึ้นมาเมื่อไหร่นั้นนอกจาก จะทำให้เราทรมาณและรำคาญตอนใช้งาน ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพการรักษาและการออกกำลังกายได้อีกด้วย

.

👍การที่เรารู้จักข้อมือ และวิธีการดูแลดีๆเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ต้องหมั่นรักษาและดูแลมันให้ดี // นอกจากนี้ข้อมือถือเป็นข้อต่อที่มีการบาดเจ็บที่ซับซ้อนมากๆ เนื่องจากมีข้อต่อและเอ็นกระดูกเยอะ ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญมากพอสมควร กว่าจะฟื้นฟูให้เคสได้ดีอย่างสมบรูณ์

.

ในคอร์สนี้มีไอเดียอะไรมาแชร์กันบ้าง เชิญติดตามในรูปต่อไปได้เลยครับ 😂

.

ส่วนใครที่อยากช่วยสนับสนุนเพจ ลงทะเบียนเรียนคอร์ส All New Wrist & Hand Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A

.





📗 Ep.4-1

กลุ่มกล้ามเนื้อที่ส่งเสริมกัน

(Muscle Synergy)

.

🥋แปลกแต่จริง ไอเดียนี้ได้มาจากการโดน Wrist lock ในศิลปะป้องกันตัว Jiu-Jitsu ที่เวลาเราโดนบิดข้อมือ (Pronaiton-Supination) จะทำให้แรงบิดนั้นวิ่งมาถึงข้อไหล่ได้โดยตรง แทบจะเป็นอัตโนมัติ, มันเกิดขึ้นได้ยังไง หนึ่งในทฤษฏีที่ใช้เป็นคำตอบคือ “Muscle Synergy”

.

การเคลื่อนไหวของเราถ้าเอามาดูรายละเอียดยิบย้อยจะเห็นว่ามีบางตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการเคลื่อนไหว (Agonist) และมีอีกบางส่วนที่เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหว (Synergist) ซึ่งถ้าเราเอามาเรียงร้อยกัน จะเห็นว่ามันมีการใช้งานเป็น Pattern ตามการหดตัว ซึ่งถ้ามีตัวใดตัวนึงทำงานได้ไม่ดี จะส่งผลได้กับอีกหลายส่วนด้วย

.

#ตัวอย่างเช่น Flexion movement

🧩Fingers flexor - กล้ามเนื้องอนิ้ว

🧩Wrist flexor - กล้ามเนื้องอข้อมือ

🧩Biceps brachii - กล้ามเนื้องอศอก

🧩Anterior Deltoid - กล้ามเนื้อที่ใช้ยกแขน

.

ถ้ากำมือไม่แน่น หรือรู้สึกยกแขนไม่ขึ้นนอกจากความเชื่อมโยงต่างๆที่เรียนมา ลองดูกลุ่มกล้ามเนื้อพวกนี้อาจจะทำให้มีไอเดียมากขึ้นได้

ถ้าสนใจอยากรู้ Pattern อื่นๆเพิ่มเติม สามารถทักเข้ามาปรึกษาได้ฮะ ▶️ https://lin.ee/IFfmaP7

.

ลงทะเบียนเรียนคอร์ส Wrist & Hand Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A






📗 Ep.4-2

ความมั่นคง และ การเคลื่อนไหว

(Stability & Mobility)

.

🧐จากการสังเกตพบว่าหนึ่งในปัญหากล้ามเนื้อไม่สมดุล (Muscle Imbalance) ที่พบได้บ่อยเกิดจากความไม่สมดุลระหว่าง ความมั่นคง-การเคลื่อนไหว, ส่วนข้อมือก็เช่นกัน

.

❄️ถ้าข้อต่อมีความมั่นคงมากเกินไป

จะทำให้การเคลื่อนไหวทำได้ยากลำบากมากขึ้น #เช่น

🧩 Joint stiffness 🧩 Muscle Tightness 🧩 Retinaculum tightness เป็นต้น

.

🔥ถ้าข้อต่อมีเคลื่อนไหวได้ดีเกินไป

อาจเกิดปัญหาข้อต่อหลวมมากกว่าปกติ หรือมีความมั่นคงไม่เพียงพอ #เช่น

🧩 Joint instability 🧩 Ligament laxity เป็นต้น


#ประยุกต์ใช้

กล้ามเนื้อข้อมือที่ให้ความมั่นคงนอกจากจะเป็นการประสานการทำงานระหว่างกลุ่ม Flexor - Extensor แล้ว ความสมดุลของกล้ามเนื้อกลุ่ม Pronator-Supinator ที่ใช้ในการคว่ำและหงายมือก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าตรวจดูเคสที่บาดเจ็บข้อมือ อาจจะเจอปัญหาเรื่องความสมดุลในกลุ่มพวกนี้ได้

.

อยากรู้เรื่อง Stability-Mobility มากกว่านี้ ทักเข้ามาสอบถามได้นะฮะ ▶️ https://lin.ee/IFfmaP7

.

ลงทะเบียนเรียนคอร์ส Wrist & Hand Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A






✅ Ep.4-3

การรับรู้ของฝ่ามือ

(Hand Homunculus)

.

🤯เรามักจะเคยได้ยินว่าชาว Physio สามารถแก้ปัญหาให้กับเคสได้ด้วย 1 สมอง🧠 และ 2 มือ🙌 นั้นเป็นเพราะว่า Sense ในการสัมผัส (Touch) เป็นส่วนสำคัญในการตรวจรักษาเคสนั้นเอง

.

📣Homunculus คือหน้าตาของร่างกายเราเมื่อพิจารณาตามความสามารถในการรับความรู้สึก โดยจะเห็นว่ามีส่วนของศีรษะและ มือที่จะใหญ่เป็นพิเศษนั้นหมายความว่า บริเวณพวกนั้นมีความสามารถในการรับรู้ได้ดีกว่าส่วนอื่นมากพอสมควร

.

👐การรับรู้ของมือมีอะไรบ้าง?

💆🏻‍♀️ค้นหาปมกล้ามเนื้อและความผิดปกติ (Detect abnormality)

🔥ความร้อนความเย็น สำหรับตรวจการอักเสบ❄️ (Thermo sense)

👋พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคนไข้ (Energy-Quantum)

ETC.

.

ปรึกษาเคสข้อมือ ทักเข้ามาขอไอเดีย หรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะฮะ

.

ลงทะเบียนเรียนคอร์ส Wrist & Hand Injuries

ได้ที่ ▶️ https://forms.gle/K7XorEsR75E3fRj7A


2 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page